Update your Windows

ทุกวันนี้การพัฒนา Application แข่งกันมากและทำกันไวมากเพื่อช่วยให้ธุรกิจแข่งขันกันได้ สำหรับ Microsoft ผู้พัฒนา Windows Server ก็เข้าใจประเด็นนี้ ได้บอกชัดเจนว่าให้ความสำคัญมากกับเรื่อง Container/Microservice  และการใช้ Windows Server บน Cloud และ On-Premise  จึงได้เปลี่ยนวิธีการออก Feature ใหม่ๆ ให้เร็วขึ้นและเปลี่ยน Security Update (hotfix) ด้วย

Nano Server และ Server Core

ตอนที่ Windows Server 2016 ออกมา เราได้รู้จัก Windows Server, Server Core และมีของใหม่คือ Nano Server (อ่านที่นี่) โดย Nano ถูกวางให้เป็นความหวังว่าจะลดงานของของ Server Admin ได้เพราะมันมีขนาดเล็ก ใช้ Resource น้อยและไม่ต้องลง Hotfix บ่อย แต่ Nano มาพร้อมกับความยากเพราะมันไม่มี Driver หรือ Plug and Play สำหรับอุปกรณ์บน Server มาให้  ทำให้ Nano บน Physical Server ติดตั้งยาก  ไม่เหมือน Windows Server ปกติ จึงทำให้การใช้งานจริงๆ นั้น Nano ถูก Run เป็น Virtual Machine (VM) เพื่อทำเป็น Container Server (อ่านที่นี่)

ในส่วน Server Core นั้นก็คือ Windows Server with Desktop (Windows Server ที่มี GUI) ที่ถูกถอด GUI ออกไปจึงมีแต่ Command Line การสั่งงานก็ใช้ PowerShell หรือ Remote Admin Tool จากเครื่องที่มี GUI โดยที่มันยังคง Role/Feature ไว้เหมือนกัน ข้อดีของ Server Core คือ มีขนาดเล็กกว่า GUI และมี  Hotfix น้อยกว่าแบบที่มี GUI ที่ Azure หรือ Azure Stack ก็ใช้ Server Core

New Model of Deliverying of Windows Server และคำยืนยันว่า Nano Server ใช้เพื่อ Container

หลักจาก Nano Server ถูกใช้งานไปสักระยะ Microsoft ได้พบว่า Nano Server ถูกนำไปใช้เป็น Container มาก เพราะมันเล็ก ประกอบกับต้องออก Feature ใหม่เร็วขึ้นจึงได้ประกาศเรื่อง New Model of Deliverying of Windows Server หรือการออก Update Feature มาในเดือนมิถุนายน 2560 ดังนี้

  1. Nano Server – ทำมาให้ใช้เป็น Container อย่างเดียว มาพร้อมกับกับ .Net core 2.0 และ PowerShell แต่ไม่มี WMI และไม่มี Role สำหรับไปทำงาน Infrastructure อื่นๆ
  2. การประกาศความถี่ในการปล่อย  Update ด้วยชื่อเรียกใหม่คือ
  • Semi-annual Channel
    • เหมาะกับผู้ที่ต้องใช้ Feature ใหม่ๆ ไม่ต้องรอเป็นปี
    • ออกปีละ 2 ครั้ง ในเดือน มีนาคม และเดือนกันยายน
    • มีให้เฉพาะ Nano Server และ Server Core
    • Support เป็นระยะเวลา 18 เดือนนับจากวันที่ออก
    • เลข Version ใช้รูปแบบ YYMM เช่น verion 1709 หมายถึง version ปี 2017 เดือนกันยายน (09)
    • ลูกค้าที่ซื้อ License ที่รองรับการ  Upgrade คือ Software Assurance หรือใช้ VM License บน Cloud จึงจะได้  Update
  • Long-term Servicing Channel
    • เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการเปลี่ยน Version บ่อย เป็นงานที่ใช้กันยาวๆ
    • มีให้เฉพาะ Windows Server with Desktop
    • Support กันยาวๆ ถึง 10 ปี (5 ปีแรกเป็น mainstream และ 5 ปีหลังเป็น extended)
    • ลูกค้าซื้อ License ของ Windows ตามปกติ

Installation option Semi-annual Channel (Windows Server) Long-term Servicing Channel (Windows Server 2016)
Nano Server Yes No
Server Core Yes Yes
Server with Desktop No Yes

Source: https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/get-started/semi-annual-channel-overview

 

Servicing Model (Security Update)

เนื่องจากการลง Security Update เมื่อก่อนนี้ลูกค้าสามารถเลือกลงเป็นบางตัวหรือไม่ได้ลงทุกตัว การลงไม่ครบสร้างปัญหาการใช้งาน ทาง Microsoft จึงเลิกการปล่อย Security Update แบบรายตัว แล้วเปลี่ยนมาเป็นต้องลงทุกตัว ในรูปแบบ Pack โดยมีรูปแบบดังนี้

  1. Security-only Update เป็นการรวม Security Patch ประจำของเดือนไว้ด้วยกัน ลูกค้าไม่สามารถเลือกว่าจะลงอันไหนได้เอง ระบบจะลงทุกตัว ถ้าพบปัญหาจากการ  Update แล้วคิดจะถอยก็ต้องถอนทั้งหมด หากถอนไม่ได้ต้องเปิด case กับ Microsoft
  2. Monthly Rollup เป็นการรวม Security Patch, Update อื่นๆ เป็นเดือนไว้ ครอบคลุมย้อนหลังให้ด้วย  6-8 เดือน  กรณีทำผ่านการใช้ Windows Update ผ่าน Internet ที่ใครๆ ก็ทำได้

 

ถึงตรงนี้จะเข้าใจได้ว่า Update มีชุดเล็กกับชุดใหญ่ ชุดเล็กเป็นการลง  update ที่มีให้ทำกันเป็นรายเดือน ไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนชุดใหญ่เป็นการ  Update Feature สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ Feature แต่มีค่าใช้จ่าย Software Assurance หรือใช้จาก Cloud

 

Reference

  1. https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/get-started/semi-annual-channel-overview
  2. https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/get-started/nano-in-semi-annual-channel
  3. https://blogs.technet.microsoft.com/hybridcloud/2017/06/15/delivering-continuous-innovation-with-windows-server/
Advertisement