PowerShell DSC

การดูแลระบบ Computer มักยึดติดกับขั้นตอน (Step) และ Configuration โดยเฉพาะการติดตั้ง Application (Software deployment), ควบคุมค่า Configuration ของ OS หรือ Application และเก็บค่า Configuration นั้นไว้ เพื่อควบคุมสถานะให้มันใช้งานได้ เวลาที่ระบบมีปัญหามันมักเป็นเรื่องที่ติดค้างอยู่ในใจของผู้ที่ต้องดูแลระบบ เมื่อได้ยินคำถาม เช่น “ใครไปแก้อะไร?” หรือ “ทำอะไรไม่เหมือนกันกับเครื่องที่ใช้งานได้หรือเปล่า” บางทีระบบงานอาจใช้งานมากจนเพิ่มจำนวนเครื่อง (scale-out) หรือย้ายเครื่องไปเครื่องใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า (scale-up) จะต้องติดตั้ง Application ใหม่ ก็ต้องไปหาขั้นตอนการทำหรือไปตามคนที่ทำเป็นมาทำให้ได้ไหม? สมัยนี้ Hardware ก็ไปทาง Virtualization หรืออยู่บน Cloud เป็นหลัก ทำให้การย้ายเครื่องทำได้ง่าย เหตุการณ์ที่ยกมานี้มีโอกาสเกิดขึ้นจริงได้เสมอ ถ้าเรามองภาพ Server กันใหม่ ว่าเครื่อง Server มันประกอบด้วย Hardware, Application และ Configuration แล้วทำเราเอกสารบันทึกขั้นตอนการ Setup และค่า Configuration เก็บไว้ทำเป็น Version เมื่อมีเอกสารนี้แล้วเวลาจะทำอะไรก็อ้างอิงจากเอกสารนี้ แล้วนี่ก็เป็นที่มาของระบบที่เรียกว่า Configuration Management

Configuration Management

การเปลี่ยนแปลงในระบบมักถูกเหมาเรียกว่า Change ไปหมด เพราะมันคือการเปลี่ยนแปลง แต่หากมองในด้านการกระทำของ Change ใน 2 ส่วนคือ เปลี่ยนอะไร (What) และ เปลี่ยนอย่างไร (How) มันมีคำเรียกใหม่คือ Configuration Management เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ เราจะเรียก Change ว่าคือกระบวนการ (Process) เมื่อต้องการจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง ที่ควบคุมตลอด Life-Cycle ของการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ เช่น การขอ Change เพื่อทำ Web Application, จัดลำดับของ Change ว่าจะเลือกทำอะไรก่อน , Resource , Timeline เป็นต้น ส่วนของ Configuration Management จะเน้นไปการติดตั้ง (Implementation) ของ Change เช่น การทำขั้นตอน (Step) การติดตั้ง Web Application, การบันทึกค่า Configuration เป็นต้น การทำ Configuration Management เป็นกระบวนการดูแลและควบคุมค่า Configuration ในระบบ การไปลงมือทำก็มีเครื่องมือตามหลัก ITIL ก็อาจพูดถึง CMDB แต่ในหัวข้อของเรา จะพูดถึงเครื่องมือ Configuration Management ในส่วนของการทำ Configuration และติดตั้ง

การนำ Configuration Management มาใช้มีประโยชน์ดังนี้

  • สร้าง Standard ของการทำงาน จะทำกี่ครั้ง
    หรือบนเครื่องไหนก็ให้ผลเหมือนกัน
  • ทำ Version control ได้
  • ควบคุมเวลาได้และประหยัดเวลา
  • ทดสอบเพื่อควบคุมคุณภาพได้
  • ตรวจสอบผลและแก้ปัญหาได้ง่าย

เครื่องมือ Configuration Manage ที่มีอยู่มากมาย เช่น Chef, Puppet เป็นต้น มันทำงานได้ดีบน Unix/Linux แม้จะมี Version ที่อยู่บน Windows ด้วย แต่มันก็ยังไม่ค่อยดี เพราะการจัดการ Configuration ของ Unix เป็น Document Oriented OS แต่ Windows เป็น API Oriented OS นั่นคือ การ Configure ระบบงาน Unix มักอยู่ในรูป Text File และเมื่อเป็น Windows มักจะเป็น Registry, การเรียก API หรือ WMI

PowerShell DSC

เครื่องมือ Configuration Management ที่ออกมาหลายตัว มีความถนัดกันคนละอย่าง เพราะการเรียกใช้ Function ก่อนหน้านี้ยังไม่มีมาตราฐาน ก็เป็นภาระของผู้ที่ซื้อเอง ที่จะต้องพิจารณาว่าเลือกถูกตัว หรือเหมาะกับงาน แต่ตอนนี้ Microsoft สร้าง PowerShell Desire State Configuration (DSC) ขึ้นมาเพื่อสร้างเป็นมาตรฐาน ทำให้ใช้ PowerShell จัดการ Configuration Management ได้ โดยเป็นได้ทั้งการเขียนเพื่อใช้เองหรือเรียกจาก พวกเครื่องมาที่ซื้อมาก็ไดั

PowerShell – Imperative vs. Declarative และ Idempotent (ไอ-เด็ม-โพ-เทน)

เราจะใช้ PowerShell เพื่อทำหน้าที่ Configuration Management หากพูดถึง PowerShell ที่เป็น Script มันมีรูปแบบที่เรียกว่า Imperative หมายถึง หากอยากทำงานอะไรก็ต้องเขียนขั้นตอนทุกอย่างเอง ตัวอย่าง เมื่อเราต้องดูแล Print Server มันเป็น Windows Service ชื่อ Spooler ในตัวอย่างเป็นรูปด้านซ้ายเป็นแบบ Script (imperative) และด้านขวาเป็นแบบ DSC (declarative)

img-1

ด้านซ้ายต้องเขียนเงื่อนไขไปดูว่า Service Start (บรรทัดที่ 1) หรือไม่ ถ้าไม่ Start ก็สั่ง Start (บรรทัดที่ 8) แต่ด้านขวา รูปแบบของ DSC ซึ่งเป็นแบบ Declarative ทางด้านขวาเป็นการสั่งการว่าให้ดู Service Name = Spooler ต้องมีสถานะเป็น Running แบบนี้ไม่ต้องเขียนเงื่อนไข ทำแค่กำหนดค่าที่ต้องการให้เป็นลงไป เราเรียกแบบนี้ว่า Declarative ยังมีอีกคำอันที่จับเรื่อง DSC แล้วต้องรู้จักคือ Idempotent หรือ ทำกี่ครั้งก็เหมือนเดิม หมายถึง การใช้ Configuration Management เราต้องการให้เครื่องอยู่ในสถานะที่เรากำหนดไว้ ดังนั้น เมื่อ Run script DSC แม้ว่าจะ Run กี่ครั้งก็ตาม มันก็ทำให้ Configuration เหมือนที่กำหนดไว้ทุกครั้ง

เริ่ม PowerShell DSC แรกกันเลย

การเขียน PowerShell DSC มี format และลำดับดังนี้

1. สร้าง Configuration ขึ้นมาตามตัวอย่างในภาพ
A. ใช้คำสั่งว่า Configuration แล้วตามด้วยชื่อที่ตั้งขึ้นมาเอง
B. สามารถส่งค่า Parameter ได้ เช่น ที่ใช้บ่อยก็เป็นชื่อ Computer
C. หัวใจของ DSC อันหนึ่งคือ Resource ส่วนนี้ใช้ import resource file
D. ระบุ  node โดยใส่ชื่อ Computer name ที่ต้องการ config ลง และลงมือเขียนสิ่งที่เราต้องการทำ ในภาพเป็นการกำหนดให้ Service ที่ชื่อ Spooler ต้องอยู่ในสถานะ RunningCreate-config

2. Compile ได้ผลลัพธ์เป็น mof file (Windows Management Object file) ด้วยการเรียกชื่อ Configuration ตามด้วย Parameter คือ NodeName จะได้ Output เป็นไฟล์อยู่ใน folder mof-folder
3. สั่ง Run configuration โดยระบุแค่ Path ในตัวอย่างใส่ -Verbose -Wait เพื่อให้แสดง Message ตอนที่มัน Run ด้วย ด้านล่างเป็นผลลัพธ์ โดยก่อนจะ Run ได้ stop service spooler ไว้ จะเป็นว่าช่วงแรกมันจะ Test เพื่อดูว่าต้องทำอะไร ซึ่งมันพบว่า Service stop มันจึงสั่ง Start ในส่วน Setimg-2

Script ตัวอย่าง

Configuration ManagePrintServer
{
param (
[string[]]$NodeName = 'localhost'
)
Import-DscResource –ModuleName 'PSDesiredStateConfiguration'
Node $NodeName
{
Service StartSpooler
{
Name = "spooler"
State = "running"
Ensure = "Present"
}
}
}
ManagePrintServer -NodeName localhost -OutputPath C:\mof
Start-DscConfiguration -Path C:\mof -Verbose -wait
view raw set-spooler.ps1 hosted with ❤ by GitHub

สรุป

เราได้ทำความเข้าใจ Configuration Management ว่ามันไม่ได้เป็นเพียง Script ที่ใช้ Run งานทั่วไป แต่มันเป็นการสอนเครื่องว่า เครื่องนี้เราต้องการให้มี Configuration เป็นแบบนี้ แล้วมันจะช่วย Set ให้เป็นแบบนี้เสมอ ในตอนต่อไปเราจะหัดเขียน Configuration เรียนรู้เรื่อง Local Configuration Manager และ Resource

 

Reference

https://www.pluralsight.com/blog/software-development/powershell-dsc-pull-server

https://pmstudycircle.com/2012/01/configuration-management-vs-change-management/

Advertisement

Remote Admin – Nano Server ตอนที่ 1 PowerShell Remote อย่างง่าย

ใน ตอนที่ 1 ได้ทำความรู้จักว่า Nano Server นอกจากไม่มีหน้าจอ GUI และไม่มี Command Windows หรือ PowerShell ให้เราเข้าไปทำงาน จากนี้ไปเราจะได้รู้ว่า Windows มี Remote Access ที่เป็น Command-Line Console ที่ช่วยให้การทำงานแบบ Remote เป็นเรื่องง่ายๆ เราจะศึกษาการสั่งงาน Windows และ Nano Server ด้วย Windows Remote Management และ PowerShell Remoting ขอใช้ตัวอย่างทั้งหมดเป็น PowerShell

WS-Management

เมื่อก่อนเวลาที่ Administrator ของ Windows Server ต้องทำงานกับ Server ผ่าน Network หากไม่นับ Remote Desktop ยังมีวิธีเรียกผ่าน WMI ที่ใช้ Protocol Remote Procedure Call (RPC) ที่ต้องเปิด Firewall  Port TCP/135 และอีกเปิดอีกหลาย Port ในเวลาต่อมา เมื่อ Microsoft ได้เข้าร่วมกับ Distributed Management Task Force (DMTF) ในยุคที่ Web ได้รับความนิยม ได้เกิด Web Service – Management (WS-Management) ที่เป็น Open standard โดยใช้ Protocol HTTP SOAP ใน Version ของ Microsoft เรียกชื่อว่า Windows Remote Management (WinRM) การใช้งานต้องมี Tool ที่ใช้บ่อยๆ มี 2 ตัวคือ WinRS และ PowerShell Remote ในภาพด้านล่างแสดงให้เห็นการเรียกใช้งาน WS-Management ทำงานเป็นด้าน Client และ Server ที่จะทดลองทำกัน

WinRM จะมีฝั่ง Client ในภาพด้านซ้ายจะเป็น Windows version Desktop หรือ Server ก็ได้ WinRM จะมี Configuration ของมันเอง ในส่วนของ Server ก็เหมือนกัน Configuration นี้ แบ่งเป็น Client, Service (หรือ Server), Listener และอื่นๆ ด้าน Server ยังมี End Point ที่สามารถเขียน Application ไปเกาะไว้กับ WinRM ในที่นี้จะเป็นตัว PowerShell Remote

ใช้งาน PowerShell Remoting ครั้งแรก

ในขั้นตอนและ Script ตัวอย่างใช้ Server IP 192.168.1.113 เมื่อนำไปทดลองต้องเปลี่ยนเป็น IP ของ Server ที่ใช้งานได้จริงด้วย

  1. ขั้นตอนแรก เป็นการ Enable ให้ Windows Server เปิดการใช้งาน PowerShell Remote ได้ เริ่มจาก Logon ไปที่ Server เพื่อ Configure WinRM โดยให้เปิด PowerShell ด้วย runas administrator แล้ว run Enable-PSRemoting –force


คำสั่งด้านบน Windows ได้ทำงานไป 4 ขั้นตอนคือ

  • กำหนดให้ Service – Windows Remote Management เป็น auto start
  • Register ให้ PowerShell เป็น endpoint ไว้กับ WinRM Listener เมื่อมี Client connect เข้ามา WinRMจะได้ส่ง Request ไปได้ถูกตัว เช่น เมื่อ Client ที่เป็น PowerShell เรียกเข้ามาก็จะส่งต่อให้ PowerShell Remote รับงานไปทำ เป็นต้น
  • สร้าง policy ใน Windows Firewall ให้ allow port tcp 5985 และ tcp 5986 สำหรับ HTTP และ HTTPS ตามลำดับ
  • กำหนด Permission การใช้งาน Remote

2. การ Configure เครื่อง Client ที่เราใช้ Remote ไปทำงานบน Server ในนี้เป็นการทดสอบกับ Workgroup  ขั้นตอนดังนี้คือ

  • ด้าน Client จะต้องดูว่า Service – Windows Remote Management (WS-Management) อยู่ใน Status Running จึงจะใช้งานได้
  • ลงทะเบียน Server ที่เราต้องการ Remote ไปทำงานไว้ในค่า TrustedHosts ด้วยคำสั่ง set-Item WSMan:\localhost\Client\TrustedHosts -value  ถ้ามีหลาย Server ใช้เครื่องหมาย “,” คั่นไว้ (ส่วนนี้ Server 1 เครื่อง ก็ add ครั้งเดียวพอ)ถ้าต้องการอ่านค่ามาดูใช้คำสั่ง get-Item WSMan:\localhost\Client\TrustedHosts 

3. เปิด Remote ไปทำงาน

  • เตรียม User ID และ Password สำหรับ Logon เข้า Server ด้วยคำสั่ง get-Credential
  • สร้าง Remote Session ด้วยคำสั่ง  new-PSSession โดยเราเก็บค่า Session ไว้ในตัวแปร
  • เข้า Remote Session ด้วยคำสั่ง enter-PSSession สังเกตุว่า Prompt ในภาพด้านล่างเปลี่ยนไป มันแสดงเป็น IP Address ของเครื่อง Remote แทน
  • เมื่ออยากจะกลับมาที่เครื่อง Client ก็ใช้คำสั่ง exit

4. เราสามารถ Remote ไปเป็น Command Prompt ก็ได้ ตัวอย่างคำสั่ง Remote ไปใช้คำสั่ง cmd.exe บน remote server

c:\winrs -r:192.168.1.113 -u:administrator -p:Passw0rd cmd.exe

เมื่อได้ทำตามตัวอย่างคงพอเห็นภาพว่าการ Remote ไม่ยาก ใช้ได้กับ Windows Server และ Nano Server ในครั้งต่อไปจะกลับไปสร้าง Nano Server มาใช้งานต่อไป

รวมภาพตัวอย่างการทำงานและ PowerShell Script

ด้านล่างเป็น Script ที่ได้ทดสอบฝั่ง Client ตอนทำต้อง runas Administrator ด้วย

Start-Service WinRM
$myTrustWinRM = get-Item WSMan:\localhost\Client\TrustedHosts
if($myTrustWinRM.Value.Length -eq 0)
{
$myNewTrust = "192.168.1.113"
Write-Host "new trustedhosts"
}
else
{
$myTargetServerIP = "192.168.1.113"
$myNewTrust = ($myTrustWinRM).Value + ", $myTargetServerIP"
Write-Host "append trustedhosts"
}
Set-Item WSMan:\localhost\Client\TrustedHosts -Value $myNewTrust
$MyCred = Get-Credential "administrator"
$nanoPSHost = New-PSSession -ComputerName $myNewTrust -Credential $MyCred
Enter-PSSession -Id ($nanoPSHost).id

client_connect_2

client_connect_3

client_connect_4

client_connect_5

client_connect_6

Nano Server – Part 1: Introduction Nano Server คืออะไร

ปี 2016 เป็นปีครบรอบ 20 ปี ของ Microsoft Windows Server (อ่านเพิ่มเติม) และก็บริษัทได้เปิด Windows Server 2016 ที่มีตัว Nano Server เป็นทางเลือก แทนการใช้ Windows Server ที่ทำกันมาก่อนหน้านี้  Nano Server มีขนาดเริ่มต้น ไม่ถึง 500 Megabyte และมีประสิทธิภาพดีกว่า Windows Server แบบเดิมอีกด้วย มันน่าสนใจว่าตั้งแต่นี้ไป Server จะมีรูปแบบการทำงานที่ไม่เหมือนเดิม มันจะเปลี่ยนไปทิศทางที่ดีขึ้นเพียงใด เรามารู้จัก Nano Server กัน เพื่อใช้ให้เป็นกัน

Nano Server เกิดจากอะไร

Windows Server ถูกสร้างเป็นให้ทำงานได้หลายอย่างในตัวมัน เช่น เป็น File Server, Web Server, Active Directory หรือแม้แต่ Hyper-V เป็นต้น ข้อดีคือความสะดวก แต่สำหรับผู้ที่ดูแล Application บน Windows Server จะพบว่ามีด้านลบแอบแฝงอยู่ พอจะยกเป็นตัวอย่าง 3 เรื่องดังนี้

  1. Microsoft ออก Security Update (Hotfix) ทุกเดือน (Patch Tuesday) เป็นการเพิ่มงานและกระทบการใช้งาน Application เพราะ Hotfix ต้อง Restart Server และบน Windows   มี API มากมายเหลือเกิน มันไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนต้องใช้แต่ต้องการ Hotfix ด้วย
  2. กิน Resource บนเครื่องมากเช่น RAM, CPU, Disk และ Network เพราะการเก็บสิ่งที่ไม่จำเป็น มันทำให้ต้องซื้อ Server หรือใช้ Cloud ที่ราคาแพงขึ้นโดยไม่จำเป็น
  3. การมี User Interface ที่เป็น Windows หรือ Command Prompt (DOS) บน   Server ไม่เป็นผลดีกับผู้ดูแล Server เพราะปัจจุบันการทำงานแบบ Automate ต้องทำผ่าน Script แต่การมี User Interface เป็นการเปิดช่องให้ Developer มองข้ามเรื่อง Automate

การเกิดของ Nano Server เป็นสร้าง Server Operating System ขึ้นมาใหม่ ถึงแม้ตอนที่ Microsoft ออก Windows Server 2008 ได้ออก Server Core มาก่อนแล้ว แต่มันไม่เหมือนกับ Nano เพราะ Server Core ใช้แนวคิดตัด GUI หรือบาง Feature ออกจาก Full Windows แต่ Nano ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ มันมีคุณสมบัติเด่น 7 ข้อที่ควรรู้ แบบย่อๆ ดังนี้

1 Compatible กับ Windows 64bit จึงใช้ Program เป็น Windows Server ได้
2 จับมัน Join Domain ได้ แต่ไม่มี Command Prompt หรือ Windows GUI (และไม่รองรับ Remote Desktop)   คนใน Microsoft เรียกมันว่า Headless เนื่องจากมันไม่มีหน้าจอเพื่อใช้ทำงานปกติ แต่มีจอ Emergency Management Console เพื่อให้ตั้งค่า   Network Configuration การใช้งานจริงๆ Microsoft ได้พัฒนา   Remote Management คือ Server Manager, PowerShell Remoting และ WMI
3 เล็กมาก มีขนาดบน   Disk   เพียง   500 Megabyte เมื่อเทียบกับ Server ที่มีขนาด 6 Gigabyte มันช่วยให้การทำ Virtualization สร้าง   VM ต่อ   Host   ได้มากขึ้นและประหยัด Hardware ได้ ประโยชน์ของความเล็กนี้ ทำให้มัน   Restart ได้เร็วมาก
4 Hotfix ลดลง อย่างมากเพราะมันเล็กมันตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกหมด ทำให้ลดจำนวน   Hotfix   ถึงขั้นบางคนใน Microsoft คิดว่า Nano ควรมี Hotfix ระดับ   Critical ปีละไม่เกิน   2 ครั้ง
5 ไม่มีแผ่น Boot   สำหรับ Nano การทำไปลงจะต้องสร้าง Boot image   เอง (ทำง่ายๆ)
6 ไม่มี Plug and Play device driver ทีผ่านมา Plug and Play ช่วยจัดการเรื่อง   Driver ที่ใช้บ่อยๆ บน Server   ก็คือ Network card และ HBA card   เพื่อต่อกับ   SAN Storage
7 สามารถเพิ่ม Feature หรือติดตั้ง Application แต่ไม่มี .MSI  ทำโดยเพิ่มPackage หรือถ้าเป็น Application อื่นๆ ที่ทำงานบน เช่น Apache Tomcat ก็ทำได้ Microsoft รองรับ   application compatibility กับ Windows Server ที่ต้องทำงานแบบ   Server mode ด้วย Reverse Folder ที่เป็นเหมือน   Virtual API

คงพอเห็นแนวความคิดของ Nano Server กันแล้ว ต่อไปจะแนะนำการสร้างเครื่องแรกแบบง่ายๆ กันก่อน เราจะสร้าง File Server ด้วย Nano Server สิ่งที่ต้องเตรียมไว้ดังนี้

  1. Microsoft Windows Server 2016 โดย Download จาก ที่นี่
  2. Windows Server 2016 ที่เป็น Hyper-V Server 2016 ถ้ายังไม่มีก็สร้างใหม่ได้
  3. สร้าง Folder c:\Temp และ copy folder – Nano Server จากแผ่น CD 2016 ไปใส่ไว้ใน C:\Temp
  4. เตรียม Folder c:\temp\NanoVM เพื่อใช้สร้าง Nano Server

Nano-p1-3

สร้าง Nano Server แรกเป็น Virtual Machine

1. การลง Nano ไม่ได้ลงจากแผ่น CD แต่มันเก็บอยู่แผ่น Windows Server 2016 ใน Folder -> NanoServer เราต้องใช้เครื่องมือ เช่น PowerShell สร้าง ในตัวอย่างนี้จะสร้างเป็น Virtual hard disk ไปใส่ใน Hyper-V Virtual Machine

Nano-p1-1

 

2. Explorer – Nano Server Folder ถ้าเปิดใน Folder Nano Server จะพบส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนในนี้ คือ .WIM file, NanoServerImageGenerator ที่เป็นเครื่องมือ PowerShell เพื่อสร้าง VHD, สุดท้ายคือ Packages ที่เป็น Feature ที่จะติดตั้งลงไปใน VHD

Nano-p1-2

3. สร้าง VHD ของ Nano Server

ขั้นตอนนี้ก็ Run script ตามนี้

$sw = [Diagnostics.Stopwatch]::StartNew()
Import-Module -Name C:\temp\NanoServer\NanoServerImageGenerator
# Prepare password as secure string
$secAdminPassword = ("Passw0rd"|ConvertTo-SecureString -AsPlainText -Force)
# Create Nano image
New-NanoServerImage -MediaPath C:\temp -BasePath .\ -DeploymentType Guest -Edition Standard -TargetPath "c:\temp\NanoVM\vmNanoStorage.vhdx" -AdministratorPassword $secAdminPassword -MaxSize 10GB -storage -ComputerName Nano
# Create VM
$strVM = "Nano"
New-VM -VHDPath c:\temp\nanovm\vmnanostorage.vhdx -MemoryStartupBytes 512MB -Name $strVM -Generation 2
Set-VMProcessor -VMName $strVM -Count 1
$sw.Stop()
$sw.Elapsed

4. ตรวจผลการสร้าง VHD จากการ Run PowerShell Script ใช้เวลาไม่ถึง 4 นาที

Nano-p1-5

 

5. Start-VM และ Config ค่าเริ่มต้น

เริ่มด้วยการไป Assign Virtual Network Card และ Start-VM

Nano-p1-6

 

Start VM

Nano-p1-7

6. Emergency Management Console

– หน้านี้เป็นหน้าแรก ให้ Login ด้วย user name: Administrator และ Password ที่เตรียมตอน Run PowerShell script

image

 

– เมื่อ Login เข้ามาแล้วจะเป็นหน้า Main Menu

Nano-p1-8

– เลือก Networking จะได้หน้านี้

Nano-p1-9-1

– เลือก Ethernet จะได้หน้านี้ สามารถกำหนด DHCP หรือ IP Address ได้

Nano-p1-9-2

– กลับไปหน้าแรกเลือก inbound firewall rule จากหน้าแรกจะได้หน้านี้ เพื่อเปิด/ปิด port ด้วย firewall ตามภาพด้านล่างจะเปิดให้ใช้ Ping ได้

Nano-p1-10-1

–  ต้องไป Enable ก่อน จึงจะทดสอบ Ping มาที่ Nano ได้

Nano-p1-10-2

7. PowerShell Remote Management

– เนื่องจากเราต้อง Remote เข้ามาจัดการ Nano ด้วย PowerShell Remoting เราจึงต้องเปิด WinRM ด้วย

Nano-p1-11-1

 

– กด Enter เพื่อเปิด WinRM จำเป็นต้องใช้ สำหรับการ Remote  Management

Nano-p1-11-2

มาถึงตรงนี้ คงจะเห็นภาพแล้ว Nano เป็นอย่างไร ตอนต่อไปจะเป็นการ Remote ด้วย powershell (อ่านที่นี่) และการสร้าง Web Server

Reference

  1. Emergency Management Console(https://windowsserver.uservoice.com/forums/295068-nano-server/suggestions/7943241-nano-server-console-to-show-change-network-informa)

คำนวณ License Windows Server 2016

เดือนตุลาคม ปี 2016 ทาง Microsoft ได้ออก Windows Server 2016 โดยได้เปลี่ยนวิธีคิด License จากเดิมนับจำนวน CPU เป็นนับตามจำนวนของ CPU core ในรอบนี้ภาพรวมๆ ก็ยังคล้ายของเดิมในส่วนของการนับไปใช้กับ Virtual Machine แต่ update เรื่อง Container เข้าไปด้วย  มี Feature ส่วนที่เพิ่มขึ้นแล้วบางอันถูกไปใส่ไว้ใน Datacenter Edition แต่ส่วนใหญ่อาจไม่ได้ใช้กัน เช่น Storage Replica, Shield VM เป็นต้น หลักๆ เรายังใช้ Standard Edition แต่ถ้ามี VM มากๆ ก็ให้ดู Datacenter ไว้ด้วย การเข้าใจเรื่อง License นอกจากช่วยให้ประหยัด และยังช่วยระวังซื้อผิด Edition ด้วย

เทคโนโลยี CPU Core และการขยับของ Microsoft

การเกิดของ Multiple CPU Core อย่างของ Intel CPU มีมานานแล้ว การมี Core มากๆ ช่วยให้ Server ทำงานได้มีประสิทธิภาพสูง อย่าง Intel Xeon E5 V4 ใน 1 CPU มี core ให้เลือกตั้งแต่ 4 core ยาวๆ กันไปจนถึง 22 core ในด้าน Software License ที่ผ่านมา Software หลายตัวได้คิดราคาค่า License ตาม CPU core กันแล้ว ถ้างานมากก็ต้อง core  มาก เป็นเหตุให้ต้องจ่ายค่า License Software มาก มันก็น่าจะเป็นธรรมกับผู้พัฒนา Software และส่งเสริมให้มีการพัฒนางานใหม่ๆ ออกมาด้วย ในส่วนของ Microsoft เองได้ปรับการคิดค่า License ของ Software ตาม Core ไปบ้างแล้ว เช่น Microsoft SQL Server ตั้งแต่ version 2012 เป็นต้น

หลักการคิด License ของ Windows Server 2016

ปัจจัยการคิด License จะมี 2 ส่วน คือ Edition ที่ซื้อและจำนวน CPU Core โดยทำตามขั้นต่อไปนี้

1. เลือก Edition  รอบนี้มี 5 Edition ดังนี้

Edition Name วิธีคิด License
1 Datacenter นับตามจำนวน CPU Core*
2 Standard นับตามจำนวน CPU Core*
3 Essestial นับตามจำนวน Processor
จำกัดจำนวน User ที่ 1-25 user หรือ 50 Devices
4 Storage Server นับตามจำนวน Processor แต่ไม่ขายตรง เป็น OEM เท่านั้น
5 Hyper-V Server Free แต่ใช้ทำเป็น  Hyper-V Host เท่านั้น

*Client Access Licenses ยังต้องซื้อตามปกติ

2. เลือก Feature ที่ต้องการใช้งาน

Datacenter Edition Standard Edition
Windows Server Core Functionality

(Function หลักของ Windows -> เท่ากัน)

เหมือนกัน เหมือนกัน
OSEs / Hyper-V containers

จำนวน VM

ไม่จำกัด 2 VM (หากสร้างเกิน 2 VM ให้ซื้อ license ใช้สูตรคำนวณตาม core นี้  เติมได้ทีละ 2 vm เช่น 1-16 core ซื้อมาตอนแรก 8 license ตอนสร้าง VM ที่ 3 และ 4 ก็ซื้ออีก 8 license  สร้างเพิ่มเครื่องที่ 5,6 ก็ซื้ออีก 8 license

 

update 24 มค 60, ถ้าเครื่องมี 40 core ใช้ 20 license สร้างได้แค่ 2 VM, ถ้าจะสร้างเพิ่ม 20 lic ต่อ 2 vm ใช้ สูตรคำนวณที่นี่ )

Windows Server containers ไม่จำกัด ไม่จำกัด
Nano Server ทำได้ ทำได้
New Storage Features including Storage Spaces Direct and Storage Replica Yes
New Shielded Virtual Machines and Host Guardian Service Yes
New networking stack Yes

3. นับ CPU Core

ใน Standard และ Data Center จะนับ License ตาม CPU Core

  • Core, จำนวน Core ทั้งหมดที่มีตาม CPU Core Model ดู specification จาก Intel ได้
  • 1 licenses เท่ากับ 2 core
  • กำหนดให้ 1 server ต้องซื้อเริ่มต้น 8 licenses (เท่ากับมี 1 – 16 core จ่ายราคาเดียวกัน คือ 8 licenses)
  • ถ้า Core เกิน 16 ซื้อเพิ่มเป็น license ละ 2 cores

4. ราคาตาม Price List ตาม web site Microsoft

Windows Server 2016 edition Licensing model CAL requirements* Pricing Open NL ERP (US$)
Datacenter Core-based Windows Server CAL $6,155
Standard Core-based Windows Server CAL $882
Essentials Processor-based No CAL required $501

5. คำนวณค่า License

จากราคาตาม Plice List ตามข้อ 4 อ้างอิงจาก Intel Xeon E5 V3 จำนวน Core ที่มีขายจริงเริ่มที่ 4 core การนับจำนวน License และคิดราคาทำได้ง่ายๆ ตัวอย่างคิด License แบบ Standard Edition

A. เครื่องมี 1 CPU – Intel E5-1630 v4 มี 4 cores ต้องซื้อ 8 license (น้อยกว่า 16 core) ราคาประมาณ 30,870 บาท

B. เครื่องมี 1 CPU –  Intel E5-2667 v4 มี 8 cores ต้องซื้อ 8 license (น้อยกว่า 16 core) ราคาประมาณ 30,870 บาท

C. เครื่องมี 1 CPU – Intel E5-2680 v4 มี 14 cores ต้องซื้อ 8 license  (น้อยกว่า 16 core)  ราคาประมาณ 30,870 บาท

D. เครื่องมี 2 CPU – Intel E5-2680 v4 มี 14 cores รวมเป็น 28 cores ต้องซื้อ 8 license (16 core แรก ) + 6 license (12 core ที่เพิ่มขึ้น) รวมต้องใช้ 14 license  ราคาประมาณ 53,970 บาทการคิด License Windows Server 2016 ตาม Core ไม่ยาก

image

 

คิด License ตาม Step 1 – 4 แล้วเทียบราคาจากตารางในขั้นตอนที่ 5 ง่ายๆ แค่นี้

image

Reference

  1. Software Defined Networking (SDN)
  2. Windows Server License Data Sheet
  3. Excel สำหรับคำนวณ License

Windows Containter 2: วิธีสร้าง Windows Container step-by-step

ใน part 1 เราได้รู้จักของ Container กันมาแล้ว คราวนี้เราจะลงมือสร้าง Windows Container กัน ขั้นตอนไม่ยากมี 4 ขั้นตอนหลัก เน้นทำตามภาพประกอบ ดังนี้

  • Download Windows Server 2016
  • ติดตั้ง Windows Server 2016 ลงบน VM โดยลงเป็น Server Core
  • Enable Feature Container
  • Download base image ของ Windows Server Core

เรามาลงมือทำกันเลย!!

  1. Download Windows Server 2016 กดที่นี่ ให้เลือก Windows Server 2016 อันนี้เป็น Evaluation จะใช้ได้ 180 วัน โดยเราต้องลงทะเบียนเพื่อ download
  2. Container เป็น Feature บน Windows Server ดังนั้น เราต้องสร้าง Windows Server ขึ้นมาก่อน แนะนำให้สร้างเป็น VM โดยเราจะใช้ Hyper-V, VMware, Oracle VM หรืออะไรที่สะดวกก็ได้ ในกรณีของผม ใช้ Oracle VM เลือก Guest เป็น Windows 10 มี Minimum hardware Requirement ที่แบ่งให้ VM ตามนี้
CPU 1 core
RAM 1 GB
Disk 25 GB
Network Card Wifi หรือ สาย LAN ก็ได้

เครื่องต้องต่อกับ Internet

3.  ลง Windows ตามภาพ

– เริ่มลง Windows

1

 

– กด Next2

 

– กด Install Now

3

– หน้านี้ เนื่องจาก Evaluation เราไม่มี Product Key ก็ไม่ต้องใส่ กดตามภาพ

4

 

– เลือก Windows Server 2016 Standard Technical Preview 5 (Desktop Experience)

5

 

6

 

7

 

8

ขั้นตอนนี้ก็ปล่อยให้มันลงจนจบ

4. สร้าง Password ของ Administrator

เมื่อลง Windows เสร็จแล้วจะได้จอนี้ ก็กด Ctrl+Alt+Del เพื่อ Logon เข้า Windows เราจะใช้ Script Powershell นี้เพื่อความสะดวกในการสร้าง Container

# This script is from MSDN
Install-WindowsFeatures Containers
#Download docker service and client
Invoke-WebRequest "https://get.docker.com/builds/Windows/x86_64/docker-1.12.1.zip" -OutFile "$env:TEMP\docker-1.12.1.zip" -UseBasicParsing
# Put docker to \Program Files\docker
Expand-Archive -Path "$env:TEMP\docker-1.12.1.zip" -DestinationPath $env:ProgramFiles
$env:path += ";c:\program files\docker"
[Environment]::SetEnvironmentVariable("Path", $env:Path + ";C:\Program Files\Docker", [EnvironmentVariableTarget]::Machine)
& $env:ProgramFiles\docker\dockerd.exe --register-service
Start-Service docker

 

ทำตาม step ในภาพ

step powershell

 

 

ถึงตอนนี้ เราสร้างเครื่อง Windows Container พร้อมกับติดตั้ง base image ของ Windows Server Core เสร็จแล้ว

5.  ทดลองเปิด Windows Container เพื่อทดสอบว่า docker ใช้งานได้แล้ว

– ทำตามภาพเลย คำสั่ง docker ps –a เพื่อดูว่ามี image run อยู่หรือไม่ สังเกตุตรง column “status”

– ให้สังเกตุตรง hostname ว่าตัว host ของ container มีชื่ออะไร เมื่อเรา run image จะเห็นมันเป็นคนละเครื่องกัน

22

-อธิบายคำสั่ง

docker ps -a เพื่อขอดูว่ามี container อะไรกำลัง run อยู่ โดยเราเพิ่ม parameter -a ไปด้วยเพื่อให้แสดงทั้งที่ run และ stop ไปแล้ว

docker run -it –name myCore <image ID> <คำสั่งที่การ run ใน container> อันนี้เราให้ docker start container ขึ้นมา run โดยใช้ image windowsservercore แต่แทนที่จะเรียกชื่อ เราใช้ Image ID แทน

  • ตอนนี้เราอยู่ใน container แล้ว คำสั่ง hostname จะแสดงว่ามันเป็นคนละชื่อกัน

23

– กด Ctrl+P+Q เพื่อกลับไปที่ host ใช้คำสั่ง docker ps –a จะเป็นว่า status เครื่อง container ของเรากำลัง run อยู่

24

– เราปิดเครื่อง และขอจบตอนนี้ตรงนี้

25

สรุป

เราได้สร้างเครื่อง Windows Container ขึ้นมาแล้ว และทดลอง run image ตอนต่อไปจะเป็นการใช้งาน Windows Container