รู้จัก Hyper-V Dynamic Memory และ Smart Paging File

การเติบโตของ Virtualization ที่รวดเร็ว ส่วนหนึ่งมาจากเรื่องการแบ่งปัน Resource เช่น RAM เป็นต้น ใน Hyper-V ได้ออกแบบให้แบ่ง Memory แบบ Dynamic ได้ และอีกเรื่องที่จะได้เรียนรู้คือการทำงานของ OS ตอนที่เครื่อง Boot/Start หรือ Restart มันต้องการ Memory มากเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเสร็จขั้น Boot มันจะคืน Memory ในส่วนที่ใช้งานแสร็จหรือไม่ต้องการแล้วออกมา หลังจากนั้น Application ก็จะดึง Memory ไปใช้งาน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า Application จะใช้มากหรือน้อยตามหน้าที่ของมัน ก่อนไปต่อขอพาไปทำความรู้จักกับ Hyper-V Dynamic Memory พื้นฐานกันก่อน

Hyper-V Dynamic Memory

หลักการทำงานของ Virtualization ที่มักถูกเรียกว่า Consolidation หรือการรวมหลายๆ Virtual Machine (VM) มาอยู่บน Server เดียวกัน ยิ่งสร้าง VM ได้มาก การลงทุนก็ยิ่งคุ้ม ในส่วนของ RAM (Memory) บน Server  ที่มีจำนวนจำกัด เมื่อเป็นอย่างนี้ Virtualization จะจัดการปัญหานี้ได้อย่างไร?  ดังนั้น ตอนนี้เราจะศึกษาเรื่องของ RAM  ตามหลักแล้ว การแบ่ง RAM ให้ VM จำนวนเท่าไร ใช้วิธีประเมินเพื่อวางแผนตามความต้องการจริง ในส่วนนี้ Windows  ก็มีกลไกกำหนดค่า RAM ที่เหมาะสมด้วย ทำให้ Windows รู้เองว่าตอนไหนที่ต้องการ RAM และต้องการจำนวนเท่าไร ในระบบ Virtualization ได้แบ่งได้สะดวก ทำได้แม้หลักร้อย Megabyte ไปจนถึงหลาย Gigabyte  เมื่อ Application มาใช้ RAM จะมี 2 เรื่องคือ การขอใช้ (Allocate) และการคืน (Recycle)   การแบ่ง RAM ใน Virtualization ให้ VM ทำได้ 2 แบบคือ

  1. Fix/Static ให้เป็นจำนวนคงที่ไปเลย ถ้าจะแก้ต้อง Shutdown VM
  2. Dynamic ให้แบบยืดหยุ่น โดยกำหนดช่วงค่า Minimum และ Maximum

เมื่อ Dynamic  ปรับขนาดได้และต้องแบ่งกันเพื่อความคุ้ม จึงเป็นที่มาของ Hyper-V Dynamic Memory โดยมี Parameter ที่สำคัญคือ

1. Startup RAM – Memory ที่แบ่งให้ VM ใช้งานในช่วงที่ Start VM
– ค่า Parameter นี้ ใช้ทั้ง Fix  ( ถ้า Fix จะใช้จำนวนนี้ไปตลอด) และ Dynamic (ใช้ตอน Start/Boot VM)
2. Minimum RAM เมื่อ VM Start เสร็จขนาดของ RAM จะถูกปรับเป็น Minimum
3. Maximum RAM ระหว่างการทำงาน RAM อาจเพิ่มหรือลดได้ ในช่วงของ Minimum และ Maximum
4. Memory weight ลำดับ Priority ของ VM ในการขอ  RAM ถ้ามี RAM จะดูตรงนี้ว่าจะให้ VM ที่ Priority สูงก่อน
5. Buffer จำนวน RAM สำรองที่ Host แบ่งให้กับ VM หน่วยเป็น %
คำนวณจาก RAM ปัจจุบันที่ VM ได้รับ

การใช้ Dynamic Memory นั้นต้องศึกษาว่า OS ของ VM มีความสามารถ Hot-Add memory หรือการสั่งเพิ่ม/ลดขนาดของ Memory ในขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่โดยไม่ต้อง reboot ได้หรือไม่ ดูได้จาก (Windows version support dynamic memory) ด้านล่าง เป็นภาพ Memory ของ Virutal Machine Setting

HPV Manager-3

 

ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นช่วง Start VM ช่อง Assign Memory คือ RAM ที่ VM ได้มีขนาด 2048 ในขณะที่ค่า Memory Damand มีเพียง 491 MB

HPV Manager-1

ภาพด้านล่าง แสดงให้เห็นว่าเมื่อ Start เสร็จ VM จะเปลี่ยนไปใช้ค่า Minimum Memory (RAM) และ Assign Memory (RAM) มีขนาดมากกว่า Demand เนื่องจากค่า Buffer 20% แต่ตัวเลขจริงบน Hyper-V Manager อาจขยับไปบ้าง เพราะ Memory ตัวเลขเปลี่ยนบ่อย

HPV Manager-2

 

Smart Paging File

เรารู้แล้วว่าตอนที่ VM Start หรือ Reboot มันต้องการ RAM มากเป็นเวลาสั้นๆ ในขณะที่ Minimum RAM ของ Dynamic RAM อาจไม่พอซึ่งมีผลให้เครื่องช้า จึงมี Parameter – Startup RAM ไว้ช่วยตอน Reboot  ในภาพด้านล่าง แสดงให้เห็นว่า เครื่องตัวอย่างมีค่า Memory Parameter คือ Startup = 2048MB, Minimum = 512MB และ Maximum = 4096MB

Smart Page File

จากภาพ ช่วงที่ 1 เครื่องต้องการ RAM 2048 MB เพื่อ Start VM เมื่อเสร็จแล้ว เข้าสู่การทำงานปกติในขั้นตอนที่ 2 มันจะคืน RAM แล้วไปจนเหลือแค่ค่า Minimum RAM ถ้า Host มี VM จำนวนมากใช้ RAM จนเกือบหมดแล้ว ทำให้จำนวน RAM ที่ว่างๆ เหลือน้อยกว่าค่า Startup ใน Hyper-V มีความสิ่งที่เรียกว่า Smart Paging File  มันสร้างมาครั้งแรกใน Windows Server 2012 เพื่อช่วยป้องกันปัญหา Startup RAM ไม่พอ ดังนั้น Smart Paging File คือ การใช้ File บน Disk มาทำหน้าที่เป็น RAM เนื่องจาก RAM จริงๆ มีไม่พอสำหรับ Startup RAM นั่นเอง ต้องจำไว้ว่ามันไม่ใช่ Paging File ของ Windows ข้อดีของมันคือแก้ขัดเวลา RAM ไม่พอ ข้อเสียคือมันช้า การระบุ Location Folder ก็ใช้ hard disk ธรรมดานี่แหละ ไม่จำเป็นต้องเป็น SSD เพราะใช้แค่ตอน Restart

Smart Page File จะถูกใช้งานเมื่อเครื่อง Hyper-V Host อยู่ในสถานะการนี้คือ

– เมื่อ Start VM แต่ Physical RAM มีไม่พอ (เพราะเครื่องอื่นเอาไปใช้หมดแล้ว)

Hyper-V ไม่ใช้ Smart Paging File เมื่อ

– Start VM จาก Save State

– VM Migrate ข้ามเครื่อง

สรุป

Smart Page File เป็นผลต่อเนื่องมาจาก Hyper-V Dynamic Memory เรื่องนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าความคิดและวิธีแก้ปัญหาของ Microsoft เรื่องการ Start VM หรือ Boot ว่าช่วงแรก Windows/OS ต้องการ RAM มาก ทำให้ใน Hyper-V  ต้องมี Paramater – Startup RAM มาช่วย Dynamic Memory  อาจมีบางครั้งที่ Minimum RAM อาจพอให้เครื่อง VM ที่ต้องการใช้งาน ทำการ Start ขึ้นมาทำงานได้ แต่ตอนที่ Start ต้องการ RAM เท่ากับจำนวน Startup RAM จึงใช้ File บน Disk แก้ปัญหา RAM ไม่พอ

แถม

เรื่อง Dynamic Memory มีชื่อเรียกกลางๆ ว่า Memory Overcomitt โดยที่ VMware ทำเรื่องนี้มาก่อน ดูผิวเผินอาจดูเป็นเรื่องเดียวกัน แต่การ Implement นั้นแตกต่างกันอยากมาก พอจะสรุปได้ดังนี้

ความสามารถ Microsoft Dynamic Memory VMware Memory Overcommit
แบ่ง RAM ให้ VM เกินจำนวนที่มีอยู่จริง Hyper-V อนุญาตให้ใช้ RAM ตามที่มีอยู่จริง (Hardware is limit) ใช้ได้
Requirement VM ต้อง Support การใช้ Dynamic Memory ไม่จำกัด
ความสามารถนี้มีเฉพาะ VMware เท่านั้น เห็นต่าง ไม่จำเป็นต้องทำ เพราะทำแล้วมีผลกระทบต่อ Performance และคิดว่า RAM ราคาถูกลง – Tranparent Page Sharing
– Memory compression

Reference

  1. http://blogs.msdn.com/b/virtual_pc_guy/archive/2010/08/04/what-is-the-memory-buffer-when-dynamic-memory-is-enabled.aspx
Advertisement

Hyper-V Snapshot error: 0x80070522

I try to create snapshot a VM on host running Windows Server 2012 and it results in error saying “A required privilege is not heold by the client. (0x80070522).

 

I am a member of local administrators group and Hyper-V administrator. The .avhd file was created in snapshot folder but it is stopped at the end before putting the snapshot name.

 

The resolution is to logon to VM and restart Windows on guest machine.

The root cause is unclear but  the problem does not happen again after reboot VM.

 

image

Server virtualization survey

Hi Everyone,

After Microsoft has released Hyper-V version 1.0 in year 2008. It is a kind of slow movement of Microsoft, but, it is on-time and changing the world.

Today, virtualization and cloud are everywhere. We have heard a lot about benefit. Today, I would you guy to share your very personal preferred choice on what is the most benefit do you get from virtualization? The choice is opened.

Thank you for you participation.

คำนวณ License Windows Server 2012

วิธีคิดจำนวนของ Windows Server 2012 ข้อสำคัญที่ควรรู้และเกี่ยวข้องกับ VM ด้วยดังนี้

  • Windows Server 2012 มี 2 Edition คือ Standard และ Datacenter
  • การเลือก Edition ให้พิจารณาการใช้งานจาก Virtualization เป็นหลัก
  • มี 1 License: ใช้ได้กับ 2 Processor 
  • ถ้าเดิมเครื่อง มี 2 CPU แล้วจะเพิ่มเป็น 4 CPU -> ก็ให้ซื้อ License ตาม Edition เพิ่มไปทีละ 2 CPU
  • License คิด per server ไม่สามารถนำมาคิดข้ามเครื่องได้ เช่น มี 2 เครื่องๆ ละ 1 CPU รวมเป็น 2 CPU แต่มันอยู่คนละเครื่อง ก็ต้องซื้อ 2 License
  • Standard Edition ใช้งานได้ 2 VM
  • ถ้าซื้อ Standard มาใช้ทำ VM ได้ 2 ตัวถ้าจะเพิ่มเป็น 4 VM ก็ให้ซื้อ Standard เพิ่มอีก, แล้วทำแบบนี้ได้เรื่อยๆ
  • Datacenter Edition ใช้งานได้ Unlimit VM
  • Feature ของ Standard ท่ากับ Datacenter  (ย้ำ feature เท่ากันนนนนน)
  • เมื่อยุบ Enterprise Edition ที่เคยมีใน 2008 ทำให้ Feature ต่อไปนี้ใน 2012 มาอยู่ใน Standard
    – Windows Server Failover Clustering
    – BranchCache Hosted Cache Server
    – Active Directory Federated Services
    – Additional Active Directory Certificate Services capabilities
    – Distributed File Services (support for more than 1 DFS root)
    – DFS-R Cross-File Replication
  • ในเครื่องเดียวมีทั้ง Standard และ Datacenter ไม่ได้ (quote จาก Microsoft มา, ไม่รู้ว่าจริงๆ มีใครทำแบบนี้ แล้วจะทำไปทำไม?)
  • สิทธิในการ Downgrade ที่น่าจะใช้บ่อย
License ที่ซื้อมา Downgrade เป็น
Datacenter 2012 Datacenter 2008
Standard 2012 Enterprise 2008 R2
Standard 2012 Stanard 2008

สรุป

ก็ขอให้ทำความเข้าใจกันให้ดี จะได้ไม่เสียเงินเยอะจากการซื้อผิด Edition โดยไม่จำเป็น และขอส่งเสริมให้ใช้ License ที่ถูกกฏหมายสำหรับงานใน Production

Reference
1. Windows Server 2012 Licensing-Pricing PDF

2.License Microsoft Product for use in Virtual Environment

รู้จัก Cloud Computing ด้วย Hyper-V ตอนที่ 1

Virtualization ของ Hyper-V ใน Windows Server 2012 มีความพร้อมแล้วสำหรับ Cloud เช่น การย้าย workload จาก network ภายในองค์กรไปฝากไว้ที่ผู้ให้บริการ (Provider) เป็นต้น  หากเราได้ดูการสาธิตในงานสัมนาต่างๆ อาจดูง่ายๆ แต่หากจะนำไปใช้งานจริงจะต้องเข้าใจและเตรียมอะไรบ้าง???  เรามาทำความรู้จักกับ Cloud และการใช้ประโยชน์ของ Hyper-V และ System Center เพื่อนำใช่งานกัน

 

Cloud Computing คืออะไร?

ลำดับแรกเรามาทำความรูัจักกับ Cloud ในรูปแบบของ VM360Degree ว่า Cloud Computing คือ การให้บริการของ IT ในรูปแบบของการขอใช้บริการ หรือ IT as a Service  ขอเน้นๆ ว่า Cloud = บริการ เช่น การขอใช้บริการ e-mail เมื่อต้องการใช้ e-mail อย่าง hotmail.com ก็เพียงสมัตรใช้บริการด้วยตนเอง อยากจะส่ง e-mail ก็ขอให้มี Internet ก็ส่งได้แล้ว เป็นต้น

Cloud ที่ถูกกล่าวถึงในช่องปี 2011-2012 นี้ ไม่น่าเรียกว่านวัตกรรม แต่เป็นความพร้อมของเทคโนโลยี ทั้งด้าน Hardware ที่ดูและราคาถูกลง, Network ที่มีพื้นครอบคลุม และสดท้ายคือ Software ที่ผู้พัฒนาพยายามสร้าง Function ที่รองรับการทำงานแบบ Cloud

คุณสมบัติที่จำเป็นของ Cloud Computing

เนื่องจาก Cloud เป็นบริการ มันไม่มีความหมายที่ตายตัว จึงมีหน่วยงาน NIST ของสหรัฐสร้างกฏเกณฑ์ สำหรับนำไปประเมินผลิตภัณฑ์ โดย Cloud คุณสมบัติ 5 ข้อ เป็นหลักสากล หากจะพิจารณาว่าอะไรเป็น Cloud หรือไม่ จำอันนี้ไไปใช้ได้เลย คือ

1. On-demand / Self-Service ความสามารถที่เปิดให้ consumer ขอใช้บริการได้เองเมื่อต้องการใช้และไม่ต้องรอให้ใครมาดำเนินการ
2. Broad network access ความสามารถให้บริการแก่ consumer ผ่านระบบ network และผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น PC, table, mobile phone
3. Resource Pooling
  • การที่ผู้ให้บริการ (Provider) สร้าง resource เป็น pool เพื่อรองรับผู้ใช้งานหลายๆ ราย (multi-tenant) และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่มีความต้องการ (demand) แตกต่างกัน
  • ผู้ใช้งานสามารถใช้งานเครื่องใดก็ได้  แต่บางครั้งก็อาจมีการร้องขอแบบเจาะจงในบางข้อเช่น การระบุประเทศที่ตั้งของ Server เป็นต้น
4. Rapid elasticity ความสามารถในการเตรียม resource ที่ยืดหยุ่น เพิ่มได้/ลดได้ ย้ายได้ มีให้ใช้ตลอด ไม่จำกัดจำนวน ไม่จำกัดเวลา
5. Measured Services มีรูปแบบของมิเตอร์ ทำให้ consumer และ provider สามารถ monitor การใช้งาน, ควบคุมการใช้งาน, ออก report

 

 

Service Model

Infrastructure as a Service – การให้บริการระดับ hardware ในรูปของ Virtual machine เช่น server, storage, network, load balancer เป็นต้น
– มีบริการเสริมมากมาย เช่น template
– ตัวอย่าง Windows Azure,
Platform as a Service – Platform คือ เครื่องมือที่รองรับการ develop, run application ให้ทำงานได้, consumer จะสร้าง application/software โดยใช้เครื่องมือ เช่น ภาษา, library, database ที่ support โดย provider
– Consumer ใช้งานการ deploy และการกำหนด configuration ได้
– Provider เตรียม Network, Server, Storage และบริการอื่นๆ เช่น เครื่องมือทดสอบ, ระบบ security เป็นต้น
– ตัวอย่าง Windows Azure, Google App Engine, Cloud Foundry
Software as a Service – เป็นการใช้บริการ application software จาก provider
-ตัวอย่าง Microsoft Office 365

 

Deployment Model

Private Cloud – ระบบ Cloud ที่อยู่ใน network ภายใน และใช้งานกันภายในองค์กรเท่านั้น
– องค์กรจะเป็นเจ้าของ
– การจัดการจะทำเองหรือจ้างคนอื่นมาดูแลก็ได้
– ตั้งอยู่ on premise หรือ off premise ก็ได้
Public Cloud – ระบบ Cloud ที่ provider เปิดให้ใช้ใครๆ ก็ใช้งานผ่าน Internet ได้
– เจ้าของอาจเป็นหน่วยงานที่ทำเป็นธุรกิจ, ราชการ หรือ สถาบันการศึกษาก็ได้
– ตั้งอยู่ในสถานที่ของ Provider

 

Virtualization คือ Private Cloud ใช่หรือไม่?

ถ้าผมเป็นที่ปรึกษาผมอาจตอบว่า “It’s depend” แต่ฐานะเป็น VM360Degree ตอบว่า “ไม่ใช่” เหตุผลคือ เราต้องเทียบกับหลักการของ NIST ระบบ Virtual อย่างเช่น Hyper-V ไม่มีข้อ Self-Service เป็นต้น การนำ Virtulization มาใช้ถือเป็นก้าวแรกเพื่อสร้าง Cloud Computing ไว้ใช้งาน

 

ศัพท์(ขั้นเทพ)ที่ใช้กับ Cloud

ก่อนเราจะทำความรู้จัก Cloud มากขั้น ต้องทำความรู้จักคำที่มักใช้บ่อยๆ กันก่อน

คำศัพท์

ความหมาย

Consumer ผู้ใช้บริการในระบบ Cloud
Elasticity ความยืดหยุ่นในการขอใช้อุปกรณ์ ไม่ยึดติด เช่น ใช้เครื่อง server เครื่องนี้ แล้วเกิดไม่แรงพอจะขอย้ายไปเครื่องใหม่ ก็ย้ายได้ไม่ยืดติด, หรือ RAM น้อยก็ขอเพิ่ม เมื่อใช้เสร็จก็คืนได้
Multi-tenant การมีผู้ใช้บริการหลายๆ ราย มาใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น มี server 1 เครื่อง ให้บริการแก่ลูกค้า 5 ราย ก็เรียก server นี้ว่า support multi-tenant (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
On premise สถานที่ตั้งอยู่ในองค์กร
Off premise สถานที่ต้องอยู่นอกองค์กร
Provider ผู้ให้บริการในระบบ Cloud
Provision การจัดเตรียม ทรัพยากร เช่น Disk, Network
Cloudburst การกระจายงานจาก private ไปยัง public cloud
Workload งานที่ถูก run โดย computer

 

สรุป

การสร้าง Cloud นั้น มีรูปแบบที่ NIST กำหนดคุณสมบัติเอาไว้ชัดเจน จะทำอะไรกับ Cloud ก็ขอให้พยายามอิงกับ Definition ในตอนนี้

 

 

References

1. http://csrc.nist.gov/publications/nistpubs/800-145/SP800-145.pdf

2. http://blogs.technet.com/b/yungchou/archive/2011/12/19/an-inconvenient-truth-of-the-nist-definition-of-cloud-computing-sp-800-145.aspx

3. http://blogs.technet.com/b/yungchou/archive/2011/12/19/an-inconvenient-truth-of-the-nist-definition-of-cloud-computing-sp-800-145.aspx

4. http://csrc.nist.gov/publications/nistpubs/800-145/SP800-145.pdf

5.http://www.hypervizor.com/2009/07/vsphere-in-a-box-a-virtual-private-cloud-blueprint/

6.http://en.wikipedia.org/wiki/Platform_as_a_service

รู้จักกับ File ต่างๆ ของ Hyper-V

เรามาทำความรู้จัดกับ File ต่างๆ ของ Hyper-V เพื่อใช้วางแผนการเตรียม Hard Disk / Storage ได้ถูกต้องกับงาน Hyper-V จะ สร้างไฟล์ของแต่ละ virtual machine เพื่อเป็นส่วนประกอบในการใช้งาน VM ดูสรุปจากตารางนี้

File Extension

คำอธิบาย

.vhd Virtual Hard Disk
.avhd File นี้เกิดขึ้นหลังจากทำ snapshot การใช้งานระบบจะใช้คู่กับ .vhd
<GUID>.xml เป็น file ประจำตัวของ virtual machine แต่ละตัว ใช้เก็บคุณสมบัติทั้งหมดของเครื่อง VM เช่น CPU, RAM, ชื่อ file virtual hard disk เป็นต้น
<Snapshot GUID>.xml เมื่อสร้าง snapshot ระบบก็จะสร้าง file ขึ้นมาใหม่ทุกครั้ง เพราะ snapshot เป็นการ save version ของข้อมูลและรวมถึง VM configuration ด้วย
.bin File นี้จะถูกสร้างเมื่อสั่ง save state ระบบจะนำข้อมูลใน RAM มาบันทึกลง .bin
.vsv ใข้เก็บสถานะของเครื่องก่อนทำการ save state เพื่อรอการ resume
InitialStore.xml The initial store contains the security permissions for Hyper-V’s
Authorization Manager (azman). This is an xml file located in
%systemdrive%\ProgramData\Microsoft\Windows\Hyper-V\.You would only need to perform a restore if this xml file becomes corrupt or is deleted somehow.Backing up virtual machines and the initial store are independent of each other. You only need to back up the initial store if you are using the Authorization Manager in Hyper-V and don’t want to lose your settings.

Folder ที่เก็บ file ของ VM

หลักของการเก็บ File ใน Hyper-V มีการแบ่งดังนี้

  • Virtual machine data root เป็นที่เก็บ configuration file ของ virtual machine และ saved state (.BIN และ .VSV)
  • Virtual machine snapshot root เป็นที่เก็บ snapshot file

Snapshot

Snapshots คือ การบันทึกสถานะของ VM ในเวลาที่เราต้องการเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสที่ต้องถอยกลับมา การสร้าง snapshot ทำได้ทั้งตอนที่กำลังใช้งานอยู่ (Power-ON/Running) หรือตอนที่เครื่อง VM ปิดอยู่ (Power-Off) การสร้าง snapshot ระบบจะสร้าง file 3 ส่วนดังนี้
1. Memory save state file (.vsv และ .bin)
2. Difference disk (.avhd) –
3. Copy of configuration file (.xml)

การจัดการ Snapshot

ปกติเราควรมี snapshot น้อยๆ version

1. สร้าง snapshot

2. การนำ snapshot กลับมาใช้งาน

3. การลบ snapshot

Saved State vs. Pause

  • การทำ save state เป็นการหยุดการทำงานของ VM โดยจดจำสถานะก่อนที่จะหยุดไว้ด้วยการบันทึกสถานะต่างๆ ทั้งใน CPU และ RAM ลงใน file (.bin และ .vsv) แล้วคืน CPU กับ RAM ให้ Host
  • การ Pause ก็เป็นการ Freeze หรือจำสถานะของ VM ณ.ขณะนั้นไว้ก่อน ไม่ได้มีการคืน Memory ของ VM แต่มีการคืนเฉพาะ CPU
  • มีคนเปรียบเทียบว่า save state คือ hibernate ส่วน pause คือ sleep บน Windows ในแบบที่เราคุ้นเคยมาแล้ว

File and Folder Permission

การทำงานของ Hyper-V ใช้สิทธิของ System User เราไม่ต้องสร้าง Service Account ตรงนี้เป็น Feature ที่เริ่มใน Windows Server 2008 เรียกวา Service SIDs

ใน Hyper-V เจ้าตัว SID เป็นการรวมกันระหว่าง Service SID คือ “NT VIRTUAL MACHINE” กับ VM GUID ต่อไปลองดูจะเห็นสิทธินี้ได้อย่างไร

1. หา GUID ของ VM ด้วย PowerShell ( Logon เข้า Hyper-V host เข้าไป command line เป็น admin แล้วพิมพ์ powershell กด enter แล้วพิมพ์สีน้ำเงินนี้ลงไป)

PS C:\Windows\system32> Get-WmiObject “MSVM_ComputerSystem” -namespace “root\virtualization” -computername “.”|Select-Object  ElementName,name |Sort-object ElementNameElementName                             name
———–                             —-
ROSE                          ROSE
BackupDC                      CA09A4A1-3F6F-4CAF-8924-93E14C41606D
SCCM2012                      8A62F92B-E0C8-4339-AF08-992FAE40C4E7
SCOM2012                      31A18A22-2FBC-47E0-9426-6F6046FAC1EE
SQL2012                       203C3003-3A17-4397-8186-37F5624761DE

2. ไปหาว่าเครื่องเราเก็บ Machine Config ไว้ที่ไหน แบบง่ายก็ดูจาก Property ของ Hyper-V Setting จากหน้าจอ Hyper-V Manager ก็ได้ เราจะเป็นสิทธิตามภาพด้านล่าง

image

References

1.Understanding where your virtual machine files are [Hyper-V] (http://blogs.msdn.com/b/virtual_pc_guy/archive/2010/03/10/understanding-where-your-virtual-machine-files-are-hyper-v.aspx)
2. Getting Started with Microsoft Hyper-V(http://blogs.msdn.com/b/wslogo/archive/2008/06/18/getting-started-with-microsoft-hyper-v.aspx)
3.Understanding Hyper-v Files (.xml, .bin, .vsv, .vhd, .avhd)(http://www.navran.co.uk/blog/category/hyper-v/)
4. Understanding where your virtual machine files are [Hyper-V](http://blogs.msdn.com/b/virtual_pc_guy/archive/2010/03/10/understanding-where-your-virtual-machine-files-are-hyper-v.aspx)
5. Hyper-V File Storage and Permissions (http://www.virtualizationadmin.com/articles-tutorials/microsoft-hyper-v-articles/storage-management/hyper-v-file-storage-permissions.html)

6. Test Snapshots, Pausing, and Saving (http://technet.microsoft.com/en-us/library/ee247418(WS.10).aspx)

7.What is the difference between Hyper-V Manager Save and Pause? (http://weblogs.asp.net/jeffwids/archive/2010/01/08/what-is-the-difference-between-hyper-v-manager-save-and-pause.aspx)

8. Hyper-V Virtual Machine Snapshots: FAQ (http://technet.microsoft.com/en-us/library/dd560637(WS.10).aspx)

9. Manually Merging Hyper-V Snapshots (http://www.virtualizationadmin.com/kbase/VirtualizationTips/ServerVirtualization/MicrosoftHyper-VR2Tips/General/ManuallyMergingHyper-VSnapshots.html)

10. Hyper-V pass-through disk performance vs. fixed size VHD files and dynamic VHD files in Windows Server 2008 R2

11.

Virtual Machine Configuration (http://www.virtualizationadmin.com/articles-tutorials/microsoft-hyper-v-articles/general/windows-server-2008-hyper-v-virtual-machine-configuration.html)

12. What is Initial Store? (http://scdpm2010.wordpress.com/2011/01/06/what-is-initial-store/)

13. Howto manually add a VM Configuration to Hyper-V (http://blogs.msdn.com/b/robertvi/archive/2008/12/19/howto-manually-add-a-vm-configuration-to-hyper-v.aspx)