Microsoft กำลังจะออก Windows 8 ในปี 2012 พร้อมกับส่ง Hyper-V 3 ที่ยกระดับความเป็น Enterprise Virtualization Platform ด้วยการเพิ่มและปรับปรุง เช่น 32 v-cpu, Cisco Nexus 1000V, Virtual Machine ใช้ USB ได้, การ drag and drop ระหว่าง virtual-virtual/virtual-root และอื่นๆ ออกมาด้วย ตอนนี้ใครวางแผนจะทำ Hyper-V Host ก็คิดให้ดีๆ ว่าจะรอดีไหม และลองดู feature ที่ผมไปหาข้อมูลมาว่าจะคุ้มค่าแก่การรอคอยไหม งานนี้ต้องขอชม Microsoft ว่า ทุ่มเทพัฒนา Hyper-V อย่างต่อเนื่อง ในระยะเวลา 3 – 4 ปีออกมาถึง 3 version
Version |
OS |
Release Date |
Hyper-V 1.0 |
Windows Server 2008 |
August 2008 |
Hyper-V 2.0 |
Windows Server 2008 R2 |
October 2009 |
Windows Server 2008 R2 Service Pack 1 |
February 2011 |
|
Hyper-V 3.0 |
Windows 8 |
Year 2012 |
การเพิ่มความสามารถใหม่ๆ เข้ามา คนที่ต้องปรับตัวคือคนที่อยู่ในวงจรการซื้อ-ขาย server เพราะคงซื้อเครื่องใหม่ๆ น้อยลงไปเรื่อยแต่ซื้อมาแล้วจะใช้อย่างไรให้คุ้มเงินที่ลงทุนไป สำหรับ Version 3 มีความสามารถสูงขึ้นตามที่หลายคนรออยู่รวมถึงตัวผมเองด้วย คราวนี้ Microsoft ได้ Challenge VMware ด้วยการเพิ่มความสามารถให้ feature สู้ได้และบางอย่างก็ล้ำ VMwareไปแล้ว ลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
Max logical core per host
|
160 |
Max RAM per host |
2 TB |
Max VMs per cluster
|
4,000 |
Max Nodes per cluster |
63 |
Max CPUs per VM
|
32 virtual CPU |
Max RAM per VM |
512 GB |
Max VM disk size |
12 TB |
Max Concurrent VM migration |
Unlimited |
Max Concurrent Storage Migration |
Unlimited |
Storage
-
มีแนวโน้มที่ Hyper-V จะ support การสร้าง virtual machine บน storage ผ่าน protocol CIFS, SMB, NFS คาดการณ์ว่า NFS ที่จะเป็นไปได้มากที่สุดเนื่องจากเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ใช้ VMware ที่คุ้นเคยกับ NFS ได้พิจารณา Microsoft ด้วย
รวมถึงมีหวังจะไปขาย System Center (system management ของ Microsoft) ได้อีกด้วย - New .VHDX
- เพิ่มความสามารถให้ virtual machine ที่เป็น Windows 8 รองรับ disk ได้สูงถึง 16 Terabyte จากเดิมที่ใช้ได้เพียง2 TB
-
Format ใหม่นี้ยังช่วยเพิ่ม performance, larger block size and more resilient to corruption
- Offloaded Data Transfer (ODX)
-
เป็นการ offload งานด้าน storage ที่เดิมทำในระดับsoftware ไปทำในระดับSAN ตรงนี้ต้องมี SANที่รองรับ ODX ด้วย
- Virtual HBA
-
อันนี้คล้ายๆ กับ virtual NIC เครื่อง virtual machine จะมี v-hba ได้สูงสุด 4 card ประโยชน์ที่ได้รับ ได้แก่ VM จะ boot from SAN หรือ iSCSI SAN ได้
- Storage Resource Pools
- หัวข้อนี้ผมยังหาข้อมูลไม่เจอ แต่ถ้าเดาอาจเป็นเรื่องคล้ายกับการจัดการ LUN ใน SAN
Network
ส่วนของ Network เรื่องใหญ่ๆ เลยคือ การปรับปรุง virtual switch architecture และ การเปิดให้ partner เข้ามามีส่วนช่วยเพิ่มขีดความสามารถ (extensibility) แม้ว่า VLAN หรือ unicast isolation ใน Hyper-v จะมีมาตั้งแต่ version 1 แต่จุดด้วยของ Hyper-V คือผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าไป Monitor การทำงานใน virtual switch และการขาด extensibility ที่ไม่มี 3rd partied ที่เก่งๆ มาเสริม จึงไม่ค่อยเหมาะที่จะนำไปสร้าง host เป็น cloud ที่เปิดให้ใครๆ เข้าไปใช้งาน (multitenant) นอกจากนี้ version 1 และ 2 ก็ไม่สามารถ monitor port spanning หรือ promiscuous monitoring ทั้งหมดที่ว่ามี มันกระทบถึงเรื่อง network security
การมี Extensibility ใน Windows 8 คือ การเปิดโอกาสให้ partner ของ Microsoft เข้ามามีส่วนร่วมต่อยอด Hyper-V บริษัทที่เปิดตัวไปแล้ว คือ Cisco Nexus 1000V หรือ Citrix NetScaler VPX for Hyper-V
ใน Hyper-V 3 ข้อมูล virtual network และ security ได้ถูกเก็บใน metadata file ของ virtual machine ดังนั้น เมื่อเราสั่ง live migration ระบบจะมีความสามารถไปตรวจ third party dependency ก่อนได้ว่า host ที่เรากำลังจะ migrate ไปนั้นมันจะไปได้จริงหรือมีความพร้อมหรือไม่ (เช่น host ตัวปัจจุบันใช้ Nexus 1000V ไปตัวใหม่ ถ้ามันไม่มีอาจไป start vm ไม่ขึ้น คงมีความจำเป็นต้องไปตรวจสอบก่อนได้วยเหตุผลนี้แน่ๆ เลย) ของที่เพิ่มมาใหม่ที่น่าสนใจยังมีอีกด้านล่าง
- NIC Teaming
- การทำ Teamingจะเป็น native ใน Windows OS ข้อดีคือไม่ต้องกังวลเรื่องถ้า card คนละยี่ห้อจะ team ไม่ได้อีกต่อไป
-
เพิ่มความสามารถ เรื่อง load balance และ failover
- Virtual Switch Extension
- ปรับความสามารถด้าน multi-tenant
- Guarantee minimum และ maximum bandwidth ได้
-
Microsoft เตรียม API สำหรับ การ capture, filter และ forwarding extension และมีการริเริ่ม Hyper-V virtual switch logo
- Hardware Acceleration (VM Queue & IPsec offload)
- Bandwidth Management
- ควบคุมได้ที่ virtual network adapter
- restrict bandwidth ได้
-
ทำ IPSec offload ช่วยให้ลดการใช้งาน CPU
- อื่นๆ ในส่วนของ Network ได้แก่
- DHCP Guard
- Router Guard
- Monitor Port
- Network Resource Pool
Memory
- NUMA – ในระบบ CPU หลาย core การจัดการ Memory ถูกแบ่งเป็น Zone เพื่อเสริมประสิทธิภาพ ใน Hyper-V
3.0 สามารถจัดแบ่งได้ระดับ Memory per Node, Cores per Node, Nodes per Processor Socket เพื่อเพิ่ม scalability เมื่อจำนวนของ CPU มีเพิ่มขึ้น
Cluster
- Microsoft อาจเปลี่ยนรูปแบบของ Clusterที่ support Hyper-V เนื่องจาก Failover Cluster มี High maintenance level and complexity
- ลดเรื่อง Dependency กับ AD อาจทำอะไรบางอย่างในเรื่องนี้
- เรื่อง Cluster Shared Volume file system ที่มีผลทางลบกับ Hyper-V ซึ่งมันเป็นปัญหาของ File System ไม่เกี่ยวกับ Hypervisor จึงทำให้อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
Live Migration
- หลังจากที่เปิดตัวในHyper-V 2.0 (Windows Server 2008 R2) ยังสู้ VMware V-Motion ไม่ได้ Hyper-V migrate ได้เพียงครั้งละ 1 server แต่ V-Motion เค้า migrate ได้หลายๆ เครื่องพร้อมๆ กัน
- Hyper-V 3.0 ได้แก้ไขให้ Migration หลายๆ server พร้อมกันได้ และทำเรื่อง Storage Live Migration ทำให้ไฟล์ configuration, virtual disk และ snapshot ย้ายไป storage ตัวอื่นได้โดยไม่ interrupt การทำงานของ user
- งานนี้ Microsoft ได้ออก feature ที่ vSphere ไม่เคยมีคือ การทำ live migration ได้โดยไม่ต้องพึ่ง Shared storage ที่ backend ตรงนี้คงเป็นประโยชน์อย่างสูงแก่บริษัทขนาดกลางและเล็กหรือ SMB
Hyper-V Replica
- ช่วยทำ replication virtual machineไป backup data center ใน asynchronous mode ใช้งานได้กับ network and storage หลายยี่ห้อ
อื่นๆ
- Drag-and-drop file from one virtual machine to another directly
- Share clipboard ระหว่าง virtual machine และ root
- Attach USB
to guest
สรุป
การตลาดที่มีการแข่งขันสูงของ Virtualization และกระแสความแรงของ Cloud Computing ในยุคนี้ ได้เป็นแรงผลักดันให้ผู้พัฒนาแข่งขันกันทำสินค้าดีของมาขาย การออก Hyper-V 3.0 บางเรื่องก็น่าจะออกมานานแล้ว ไม่รู้ว่าบางครั้ง Microsoft กลัวตกกระแสจึงรีบออกสินค้าในขณะที่ยังไม่พร้อมหรืออย่างไร แต่จนถึง Hyper-V 2.0 ระดับ Kernel ของ Hypervisor ของ Hyper-v ก็ไม่ได้บกพร่องอะไร เพียงแต่ Supporting feature เช่น USB drive ออกมาช้าไปนิดเดียงเอง
แม้ว่า Hyper-V 3 จะใช้ resource เช่น RAM,CPU, Disk ได้มากกว่าเดิม แต่ก็อย่าลืมดูว่า OS ของ virtual machine ที่มาลงนั้นมันใช้งานได้ขนาดไหน เช่น Windows Server 2003 standard ใช้ CPU ได้ 2 ตัว ถ้าใส่ไปเยอะก็เสียของ ก็ศึกษาข้อมูลให้ดีและหมั่นคอย monitor utilization ถ้าไม่มีเครื่องมือ Microsoft Assessment and Planning Toolkit (MAP Tools) ก็ไม่เลวนะครับ
เพิ่มเติม
- http://www.windows8update.com/2011/06/20/windows-8-will-have-hyper-v-3-0/
- http://www.hyper-v.nu/archives/hvredevoort/2011/09/showing-hyper-v-in-windows-8-in-pictures/#utm_source=feed&utm_medium=feed&utm_campaign=feed
- http://wegh.wordpress.com/2011/09/15/hyper-v-3-rumors/
- http://wegh.wordpress.com/2011/09/15/hyper-v-3/
- http://blogs.technet.com/b/tonyso/archive/2011/09/22/impatient-it-pros-guide-to-the-new-stuff-in-windows-server-8-hyper-v.aspx
- http://www.hyper-v.nu/archives/hvredevoort/2011/09/windows-server-8-hyper-v-new-features/#utm_source=feed&utm_medium=feed&utm_campaign=feed
- http://blogs.gartner.com/chris-wolf/2011/09/20/hyper-v-3-a-windows-server-2003-remix/
- http://technet.microsoft.com/en-us/library/bb977556.aspx