อ่านบทความจากคอลัมน์สื่อสารไอที โดย พรหมเมศร์ ศิริสุขวัฒนานนท์ ในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ชื่อเรื่อง “เวอร์ชอลไลเซชัน เทคโนโลยี เปลี่ยนวิธีทำงาน” ผมขอย่อเฉพาะส่วนที่คิดว่าเป็น main idea มาดูกันครับ
คุณพรหมเมศร์ ศิริสุขวัฒนานนท์
- องค์การต้องมีการจัดการระบบไอทีภายในเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Cloud Computing
-
มุมมองของผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าระบบทำงานอย่างไร ขอให้สามารถช่วยเสริมการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพขององค์การได้ก็เพียงพอแล้ว
ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์
- Software ที่ทำระบบ Virtualization ด้องประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ความมีเสถียรภาพ ทำงานแบบอันโนมัติ และมีความปลอดภัย
- Server แบบ Physical ที่ใช้งานกันในปัจจุบันมี Utilization อยู่ที่ 20-30%
- ระบบ IT จะไม่ใช่การลงทุนอีกต่อไป แต่เป็นการใช้บริการ
คุณสุทัศน์ คงดำรงเกียรติ
- ระบบ Virtualization คือทางออกของระบบ IT ยุคใหม่
รอเพียงแค่ผู้บริหารและองค์กรให้ความเชื่อมั่น การเติบโตก็จะเป็นแบบก้าวกระโดดทันที -
การเริ่มต้นเป็นการทดลองเพื่อทดสอบ เมื่อเห็นประสิทธิภาพที่ดีขึ้นก็จะใช้เพิ่มขึ้น ต่อจากนั้นต้องมีการวางแผนการเติบโต
จากความคิดของ 3 ท่านนี้ผมขอเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
ระบบ virtualization ได้เปลี่ยนวิธีการใช้เครื่อง Server จากเดิมเรากำหนดว่า hardware (server) แต่ละตัวใช้ทำหน้าที่อะไร มาเป็นระบบที่ในหนึ่ง hardware อาจมีเครื่อง Virtual Machine หลายตัว จากภาพตัวอย่างด้านล่าง ทำให้ไม่รู้สถานะภาพของ Virtual จึงต้องมีเครื่องมือช่วยบริหารระบบ (System Management Tool) ในส่วนของผู้ใช้งานนั้นเป็นมานานแล้วว่าในการใช้งานเขาจะสนใจว่า application นั้นใช้งานได้ไหม เร็วหรือช้า ส่วนมันจะอยู่ตรงไหนไม่สนใจมานานแล้ว แต่คนที่สนใจคือ software developer มากกว่าที่เป็นห่วงว่าการใช้ Virtualization จะส่งกระทบอะไรต่อ application ของเขาหรือเปล่า ซึ่งเรื่องเหล่านี้สามารถแก้ไขด้วยการทดสอบก่อนติดตั้งบนระบบ Production
อีกส่วนหนึ่งคือเรื่อง Resouce Pool คือจากเดิมเราเตรียม hardware ที่มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน มาเป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเพื่อรองรับอนาคต เช่น อาจสั่ง RAM 1-4 GB แต่พอเข้าระบบ Virtualization เราอาจสั่งมา 64 GB เพื่อสำรองไว้สร้าง virtual machine ในอนาคต
ผมคิดว่าที่กล่าวมานี้เป็นการสะท้อนความเป็นจริงที่ทั้ง 3 ท่านมานั้นเป็นของจริงครับ